วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

Draw Animation


                                              
                                                                          
                                                    นส. ชวีพร พนาธนวัฒน์ 53123311046

เนื้อเรื่อง อุทิศเพื่อมวลชน

     ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีชายหนุ่มคนหนึ่งเขาึคิดเสมอว่า ต้องทำอะไรให้เกิดประโยชน์แก่หมู่บ้านอันเป็นที่รักของเขา แต่สิ่งที่เขาทำ กลับไม่ทำให้ชาวบ้านชื่นชมเขาเลย แต่ชาวบ้านคิดว่าเขาบ้า เขามักจะทำอะไรแปลกๆ ไม่เหมือนกับคนปกติ แต่เขาคิดว่า สิ่งที่เขาทำก็ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เขาจึงทำต่อไปโดยไม่สนใจคำพูดของชาวบ้าน
    วันหนึ่งชายหนุ่มเห็นเด็กผู้ชายเกเรคนหนึ่งกำลังแย่งของเล่นจากเพื่อน ชายหนุ่มจึงเดินเข้าไปหาทันที และคิดที่จะทำอย่างไรก็ได้ ให้เด็กคนนี้กลับใจเป็นคนดี ชายหนุ่มจึงบอกว่า ให้เด็กคนนั้นปล่อยของที่กำลังแย่งจากเพื่อน ละบอกว่า ถ้าปล่อยแล้ว จะมีของขวัญให้ แทนของชิ้นนั้น  เด็กเกเรจึงปล่อยของนั้นทันที ชายหนุ่มจึงมอบของขวัญให้เด็กเกเรไป เด็กเกเรรู้สึกดีใจ มาก ที่ได้รับของขวัญชิ้นนี้  แต่จู่ๆ ของขวัญชิ้นนั้นก็หายไปในพริบตา และหันไปอีกทีชายหนุ่มคนนั้นก็หายไปแล้ว ...เหลือเพียงกระดาษใบหนึ่ง ซึ่งเขียนไว้ ว่า "เห็นไหม ของขวัญที่เจ้าเพิ่งได้ ตอนที่เจ้าได้ เจ้ารู้สึกดีใจ แต่พอมันหายไป เจ้ารู้สึกอย่างไร เจ้า ย่อมรู้ดี อะไรที่ไม่ใช่ของเรา ก็อย่าไปอยากได้ของเขาเลย ของของใคร ใครก็รัก"                                      ทำให้เด็กเกเรรู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเขาก็กลับมาคิดว่าของขวัญที่เขาเพิ่งได้ จู่ๆ กลับหายไปในพริบตา ตอนแรกที่ได้ มา เขาก็ดีใจ แต่พอมันหายไป กลับรู้สึกแย่อย่างบอกไม่ถูก เขาจึงไม่คิดจะไปแย่งของเพื่อนอีกแล้ว ...

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

7 Character


1. Hero

ตัวละครหลักของเรื่อง

2. Mentor

ตัวที่คอยแนะนำ HERO




3. Herald

เพื่อน HERO


4. Threshold guardian

ตัวพิสูจน์ความตั้งใจของ HERO



5. Shape Shifter

ตัวอิจฉา




6. Trickster

ตัวโจ๊ก สร้างสีสัน


7. Shadow

ตัวร้าย ที่คอยขัดขวาง HERO




องค์ประกอบศิลป์



องค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์ (Composition) คือ?
องค์ประกอบศิลป์ (Composition) หรือเราอาจเรียกว่า ส่วนประกอบของการออกแบบ (Elements of Design) ก็ได้ หมายถึงการนำสิ่งต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน ตามสัดส่วน ตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลงานที่มี ความเหมาะสม ส่วนจะเกิดความงดงาม มีประโยชน์ใช้สอย น่าสนใจหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพ ในการ ปฏิบัติงานการออกแบบ ของเรา
     โดยต้องคำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้ 
            1. รูปแบบที่สร้างสรรค์
            2. ความงามที่น่าสนใจ
            3. สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย 
            4. เหมาะสมกับวัสดุ
            5. สอดคล้องกับการผลิต

     สิ่งต่างๆ ที่เราจะนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย จุด, เส้น, รูปร่างรูปทรง, ลักษณะผิว, สี, เฉกเช่น ร่างกายของเราประกอบด้วย ส่วนประกอบย่อยๆ คือ ศีรษะ จมูก ปาก ตา หู ลำตัว แขน ขา และอวัยวะ น้อยใหญ่มากมาย หากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดมีความบกพร่อง หรือขาดหายไป เราก็จะกลายเป็นคนพิการ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก และไม่ได้รับความสุขสมบูรณ์เท่าที่ควร
     ในงานศิลปะก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ของศิลปะที่นำมาจัดประสานสัมพันธ์กัน ให้เกิดคุณค่า ทางความงาม เราเรียกว่า องค์ประกอบศิลป์ (Composition)

     ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์              
     องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียน ศิลปะ ทุกคน ต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำได้ไปใช้ได้ กับวิถีชีวิตของเรา เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, การจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปใช้กับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น

     
ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์
     
ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะทำให้เราสร้างสรรค์ผลงานทุกรูปแบบได้น่าสนใจ มีความสวยงาม มีดังนี้
     1. จุด (Point, Dot) 
คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ เช่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสม และซ้ำๆ กัน จะทำให้เรามองเห็นเป็น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว และการออกแบบที่น่าตื่นเต้นได้ จากจุดหนึ่ง ถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เราเรียกว่า เส้นโครงสร้าง
     นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบแล้ว เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ได้   เช่น ข้าวโพด รวงข้าว เมล็ดถั่ว ก้อนหิน เปลือกหอย ใบไม้ ลายของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ เสือ ไก่ นก สุนัข งู และแมว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติได้ออกแบบไว้อย่างสวยงาม มีระเบียบ มีการซ้ำกันอย่าง มี จังหวะ และมีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก เช่น การออกแบบลูกคิด ลูกบิดประตู การร้อยลูกปัด สร้อยคอ และเครื่องประดับต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากจุดทั้งสิ้น
2. เส้น ( Line) เกิดจากจุดที่เรียงต่อกันในทางยาว หรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง

                                      lineart

     เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันอีกด้วย

                         line

     ลักษณะของเส้น
         1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง  ให้ความรู้สึกทางความสูง  สง่า  มั่นคง  แข็งแรง  หนักแน่นเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
         2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
         3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
         4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็นจังหวะ  มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
         5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพอ่อนโยน นุ่มนวล
         6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
         7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง  การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
         8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด     
     ความสำคัญของเส้น
         1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
         2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง  ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
         3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
         4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
         5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ
3. รูปร่างและรูปทรง ( Shape and Form) รูปร่าง คือ พื้นที่ ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติ รูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์
               
     shape

 รูปร่างและรูปทรงที่มีอยู่ในงานศิลปะมี 3 ลักษณะ คือ        
      รูปเรขาคณิต (Geometric Form) มีรูปที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณได้ง่าย มีกฎเกณฑ์ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี นอกจากนี้ยังรวมถึงรูปทรงของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นอย่างมีแบบแผนแน่นอน เช่น รถยนต์ เครื่องจักรกล   เครื่องบิน สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม ก็จัดเป็นรูปเรขาคณิตเช่นกัน 
             รูปเรขาคณิตเป็นรูป  ที่ให้โครงสร้างพื้นฐานของรูปต่าง ๆ ดังนั้นการสร้างสรรค์รูปอื่น ๆ   ควรศึกษารูปเรขาคณิตให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน
                                     shape2
          รูปอินทรีย์ (Organic Form) เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถ  เจริญเติบโต  เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงรูปได้ เช่นรูปของคน สัตว์ พืช
                                 
                                   shape4

             รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปที่ไม่ใช่แบบเรขาคณิต หรือแบบอินทรีย์ แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพล และการกระทำจากสิ่งแวดล้อม  เช่น รูปก้อนเมฆ ก้อนหิน  หยดน้ำ ควัน ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง รูปอิสระจะมีลักษณะ ขัดแย้งกับ รูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน กับรูปอินทรีย์  รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำจนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินทั้งคัน  เครื่องบินตก ตอไม้ที่ถูกเผาทำลาย หรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง  
                               
                                 shape5
  
               ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง  เมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กัน  รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด หรือผลักไส ซึ่งกันและกัน  การประกอบกันของรูปทรง อาจทำได้โดย ใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันรูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน รูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน หรือ รูปทรงที่บิดพันกัน การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูป อิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
4. น้ำหนัก ( Value) หมายถึงความอ่อนแก่ของสี หรือแสงเงาที่นำมาใช้ในการเขียนภาพ น้ำหนัก ทำให้รูปทรงมีปริมาตร และให้ระยะแก่ภาพ        
                     
            ค่าน้ำหนัก คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน- ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู หรือ สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน  เป็นต้น นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว)  น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด  

                         value1
           
                         value


      การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆ  ระดับจะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมาก
จะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง
                                        
                                                          lightsandhade

             แสงและเงา (Light & Shade) เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน แสง เมื่อส่อง
กระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของเแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนักของแสงและเงานที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ ต่าง ๆ ได้ดังนี้
                 1. บริเวณแสงสว่างจัด  (Hi-light)  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด   จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
                 2. บริเวณแสงสว่าง  (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่างจัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
                 3. บริเวณเงา (Shade)  เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง เป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
                 4. บริเวณเงานเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
                 5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา
                                    
                                               shadow
             ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
                 1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
                 2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
                 3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
                 4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ
                 5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ 
5. สี ( Color) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานศิลปะ สีจะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ และมีชีวิตชีวาแก่ผู้ที่ได้พบเห็น อีกทั้งยังให้ความรู้สึกต่าง ๆ ได้ด้วย สีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์เราเป็นอันมาก

         สี คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น ในทางศิลปะ  สี คือ ทัศนธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะ และใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม  ช่วยสร้างบรรยากาศ มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ อย่างแยกไม่ออก

  Color1    Color2
     
   
สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
            1. ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
            2. ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย  การจัดตกแต่งบ้าน
            3. ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี  เครื่องแบบต่าง ๆ
            4. ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
            5. ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ  สมจริงและน่าสนใจ
            6. เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์
      



 การใช้สีในยุคสมัยต่าง ๆ

                                             color3
    
       อียิปต์โบราณ
       ในสมัยอียิปต์โบราณ การใช้สีมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรม และเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา การระบายสีไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงทางทัศนียวิทยา หรือหลักความเป็นจริง เป็นภาพที่ไม่มีแสงเงา เป็นรูปแบนระบายสีที่สว่างสดใส มองเห็นชัดเจน โดยใช้เทคนิคสีฝุ่นผสมไข่ขาว (egg tempera) หรือใช้ไข่ขาวเคลือบบนผิวที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมน้ำ
                           color4
       กรีกโบราณ
       ผลงานในสมัยกรีกโบราณ  ที่เห็นชัดเจนจะได้แก่งานประติมากรรมและสถาปัตยกรรม จะพบเห็น งานจิตรกรรมค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยปรากฏงานจิตรกรรมฝาผนัง แต่จะพบในงานวาดภาพระบายสี ตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา จะนิยมใช้สีเพียง 2 - 3 สี คือ ขาว เหลือง แดง และเคลือบดำ
                     
                       color4

      โรมันโบราณ
        นิยมสร้างภาพบนผนังและพื้นห้องประดับด้วยโมเสค (Mosaic)  สำหรับการวาดภาพใช้เทคนิค ผสมไข (Encaustic painting) ซึ่งเป็นการใช้สีผสมกับไขระบายในขณะที่ยังร้อน ๆ จากการค้นพบ หลักฐานผลงานในสมัยโรมันหลาย ๆ แห่ง นิยมสร้างเป็นภาพในเมือง ชนบท ภูเขา ทะเล การต่อสู้  กิจกรรมของพลเมือง การค้าขาย  กีฬา เรื่องเกี่ยวกับนินายปรัมปรา และประวัติศาสตร์
        คริสเตียนยุคแรก
        ในยุคไบเซนไทน์ (Bizentine) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของคริสเตียนนิยมสร้างภาพโดยใช้โมเสค กระจก( Glass  Mosaic) ทำเป็นภาพบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ไบเบิล ประดับตกแต่งภายในโบสถ์ ์โดยมากมีจุด            มุ่งหมายเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอย่างสูงต่อศาสนาคริสต์
        การใช้สีในจิตรกรรมไทย
             จิตรกรรมไทย เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ  สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ  มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดี จิตรกรรมไทยแบ่งออกได้  2  ประเภท  คือ
            1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงความรู้สึกชีวิตจิตใจ และความเป็นไทย ที่มีความละเอียด  อ่อนช้อยงดงาม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต  และสังเคราะห์จนได้ลักษณะประจำชาติ ที่มีรูปแบบเป็นพิเศษเฉพาะตัว เป็นงานศิลปะในแบบอุดมคติ (Idialistic Art) นิยมเขียน เป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวต่าง ๆ คือ
                  1.1 พุทธประวัติ และเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ
                  1.2 พงศาวดาร  ตำนาน เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์  เรื่องคตินิยมอันเป็นมงคล
                  1.3 วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่  ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ

                                        color5

            ลักษณะของผลงานเป็นภาพจิตรกรรม  ระบายสีแบนเรียบด้วยสีที่ค่อนข้างสดใส แล้วตัดเส้นมีขอบ ที่คมชัด ให้ความรู้สึกเป็นภาพ 2 มิติ มีลักษณะในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอนๆ จากบนลงล่าง มีวิธีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งสีเอกรงค์ และพหุรงค์
         
             2. จิตรกรรมไทยร่วมสมัย (Thai Contemporary painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมใหม่แนวความคิดใหม่ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะตะวันตกที่นำมาผสมผสาน กับรูปลักษณ์แบบไทย ๆ แล้วสร้างสรรค์เป็นรูปแบบใหม่ขึ้น

                                   color6
สีที่ช่างนำมาใช้ในงานจิตรกรรมแต่เดิมนั้นมีน้อยมาก  มักใช้สีเดียวที่เรียกว่า "เอกรงค์" โดยใช้สีขาว สีดำและสีแดงเท่านั้น  ทำให้เกิดความกลมกลืนกันมาก ต่อมาสีที่ใช้ในภาพจิตรกรรมก็มีมากขึ้น มีการเขียนภาพ ที่เรียกว่า "เบญจรงค์" คือใช้สี 5 สี ได้แก่ สีเหลือง  เขียวหรือคราม  แดงชาด  ขาว  และดำ การวาดภาพที่ใช้ หลาย ๆ สี เรียกว่า "พหุรงค์"
          สีที่ใช้ล้วนได้มาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และมีที่กำเนิดต่าง ๆ กัน บางสีเป็น ธาตุจากดิน บางสีได้จากสัตว์ จากกระดูก เขา งา เลือด บางสีได้จากพืช ลักษณะของสีที่นำมาใช้มักจะทำเป็น ผงละเอียด ซึ่งเรียกว่า  สีฝุ่น ( Tempera) นำมาผสมกับวัสดุอื่นเพื่อให้ยึดเกาะผิวหน้าวัตถุได้ดี  ได้แก่ กาวหรือ ยางไม้  ที่นิยมใช้คือ ยางของต้นมะขวิด  และกาวกระถิน  ลักษณะเด่นของจิตรกรรมไทยอีกอย่างหนึ่งคือ การปิด ทองคำเปลวในบางส่วนของภาพที่มีความสำคัญ เช่น  เป็นเครื่องทรงหรือเป็นผิวกายของของบุคคลสำคัญในเรื่องเป็นส่วนประกอบของปราสาทราชวัง  หรือสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ๆ ในภาพ  เป็นต้น 
     6. พื้นผิว ( Texture ) หมายถึง ส่วนที่เป็นพื้นผิวของวัตถุที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เรียบ ขรุขระ หยาบ มัน นุ่ม ฯลฯ ซึ่งเราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ การนำพื้นผิวมาใช้ในงานศิลปะ จะช่วยให้เกิดความเด่นในส่วนที่สำคัญ และยังทำให้เกิดความงามสมบูรณ์

     ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว มี  2  ประเภท คือ

            1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของผิวหน้าของวัสดุนั้น ๆ ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
            2. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิววัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหินแต่ มือสัมผัสเป็นกระดาษ  หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อนเพื่อปะ ทับ บนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือว่า เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตา ให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น

     texture    texture2

     ผิวลักษณะต่าง ๆ จะให้ความรู้สึกต่องานศิลปะที่แตกต่างกัน พื้นผิวหยาบจะ ให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาท หนักแน่น มั่นคง แข็งแรง ถาวร ในขณะที่ผิวเรียบ จะให้ความรู้สึกเบา สบาย การใช้ลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกัน เห็นได้ชัดเจน จากงานประติมากรรม และมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรมซึ่งมีการรวมเอาลักษณะ ต่าง ๆ กันของพื้นผิววัสดุหลาย ๆ อย่างเช่น อิฐ ไม้ โลหะ  กระจก  คอนกรีต หิน ซึ่งมีความขัดแย้งกันแต่สถาปนิกได้นำมาผสมกลมกลืนได้อย่างเหมาะสม ลงตัวจน เกิดความสวยงาม  

 








                     ภาพ 2 มิติ
        ภาพ 2 มิติ คือ ภาพที่เกิดจากการเขียนภาพ บนกระดาษ ในแนวตั้ง และแนวนอน โดยภาพที่เราเห็นจะเป็นแค่ด้านกว้างและยาวเท่านั้น เราสามารถทำการ์ตูน 2 มิติได้ จากการวาดด้วยมือ หรือคอมพิวเตอร์ดังนั้นหนังสือการ์ตูนที่เราเคยเห็นเคยอ่านหรือภาพเขียนต่างๆ ทั้งหมดจะเป็นแบบ 2มิติ รวมไปถึงการ์ตูนแอนิเมชั่น หรือเกม ที่ผลิตการเขียนด้วยมือ            อีกด้วย

 




องค์ประกอบของภาพ 2 มิติ
การจัดองค์ประกอบภาพ หมายถึง การเลือกและการจัดวางตำแหน่งของวัตถุหรือจุดสนใจของภาพ พร้อมทั้งบรรยากาศโดยรอบให้อยู่ในพื้นที่ได้อย่างงดงาม ภาพที่มีการจัดองค์ประกอบที่ดีจำเป็นจะต้องมีการวางแผนการถ่ายภาพโดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้
        - คำนึงถึงความเรียบง่าย (Simplicity)   ในการจัดภาพเพื่อให้ได้จุดสนใจของภาพดูเด่น โดยหาฉากหลังที่ไม่ยุ่งเหยิงซึ่งจะมาแย่งจุดสนใจของภาพไป บางครั้งอาจถ่ายภาพให้มีความคมชัดเฉพาะจุดสนใจและปล่อยให้ฉากหลังไม่ชัด วิธีการนี้ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาวๆ และเปิดหน้ากล้องกว้างๆ จะให้ผลดังกล่าวดีมากและภาพที่ดีควรบอกถึงเรื่องราวหรือจุดสนใจของภาพเพียงจุดเดียวหรือเรื่องเดียวเท่านั้น
        - ใช้กฎสามส่วน      การจัดวางตำแหน่งตามจุดสนใจของภาพที่กำหนด โดยแบ่งช่องมองภาพออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน จุดตัดของเส้นแบ่งทั้งสองจะมี 4 จุดด้วยกัน ตำแหน่งจุดตัดหมายเลข 1,2,3, และ 4 เป็นจุดที่เหมาะสมสำหรับการวางตำแหน่งของจุดสนใจของภาพเพราะตำแหน่งดังกล่าวจะทำให้ภาพเด่นขึ้น โดยอาจจะวางจุดสนใจของภาพในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็ได้ใน 4 จุดนี้

                     

       - การจัดองค์ประกอบด้วยลีลาของเส้น      ในการจัดองค์ประกอบภาพด้วยลีลาของเส้นต่างๆ นั้นเส้นเหล่านี้นอกจากจะแสดงถึงรูปทรงแล้วยังสามารถใช้เป็นเส้นนำสายตาไปสู่จุดสนใจได้
       - การถ่ายภาพในลักษณะเส้นตรง      การถ่ายภาพในลักษณะเส้นตรง จะให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง สง่างาม  
           - ภาพในลักษณะเส้นทแยงมุม      ในการถ่ายภาพลักษณะของวัตถุที่ตั้งเป็นแถวยาวนั้น ถ้าถ่ายภาพตามแนวขวางธรรมดาจะทำให้ภาพดูแบน ไม่น่าสนใจ แต่ถ้าถ่ายในแนวเฉียงให้เห็นลักษณะของเส้นทะแยงมุมแล้ว จำทำให้เห็นความชัดลึกของภาพได้ดีกว่า
          - ภาพในลักษณะเส้นโค้ง       การถ่ายภาพในลักษณะเส้นโค้ง จะแสดงถึงความร่าเริง อ่อนช้อย โดยส่วนมากเส้นโค้งที่นำมาใช้ในการถ่ายภาพ คือเส้นโค้งรูปตัว S นั่นเอง 
           - ความสมดุล  ในการถ่ายภาพให้เกิดความสมดุลนั้น ในบางครั้งมีความจำเป็นแต่การวางภาพให้เกิดความสมดุลนั้นยังสามารถแบ่งเป็นแบบสมดุลซ้ายขวาเท่ากัน และสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นความสมดุลในความรู้สึก
          - การจัดกรอบภาพ      การจัดกรอบภาพนั้นหมายถึง การใช้วัสดุต่างๆมาเป็นฉากหน้าของ จุดสนใจ ทำให้ภาพดูมีมิติ มีความลึก เช่น อาจจะใช้ใบไม้บางส่วนมาเป็นฉากหน้าและจุดสนใจอยู่ในระดับรองลงไป
      - ความเหมาะสม       ในการจัดองค์ประกอบภาพ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง นอกจากการจัดองค์ประกอบภาพที่สมบูรณ์แล้ว ความเหมาะสมของภาพก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป

         สรุปได้ว่า การจัดองค์ประกอบภาพ โดยอาศัยกฎสามส่วนจะต้องคำนึงควบคู่ไปกับการใช้หลักความเรียบง่ายและการให้ความสำคัญกับจุดสนใจในแต่และภาพ เช่นการเน้นด้วยขนาด สี และน้ำหนักรวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ของแต่ละภาพจะต้องมีความสำคัญกันอย่างสอดคล้องและเป็นเอกภาพเพื่อให้ผลงานออกแบบมีความสมบูรณ์

 หลักการออกแบบ

       หลัก การออกแบบหรือการจัดองค์ประกอบศิลปะ คือ การนำเอา เส้น รูปทรง ค่าของน้ำหนัก สี และพื้นผิว มาจัดวางลงในที่ว่าง ส่วนประกอบของการออกแบบได้มาปรากฏตัวอยู่ในที่ว่าง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นในเรื่องของการสร้างภาพ
2 มิติ และ 3 มิติ ขึ้นในที่ว่างของภาพ ซึ่งเรียกว่าองค์ประกอบทางรูปธรรม และยังมีองค์ประกอบทางนามธรรม ซึ่งหมายถึงเนื้อหาสาระอีกส่วนหนึ่งด้วย และในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการออกแบบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะ
หลักการออกแบบประกอบด้วย :

3.1. จังหวะ (Rhythm)
    จังหวะ เป็นหลักการหนึ่งของการออกแบบซึ่งมีพื้นฐานมาจากการซ้ำกัน (Repetition) จังหวะเป็นการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบรวมเข้าไว้ด้วยกัน

นพวรรณ (2540: 173-178) ได้แบ่งจังหวะออกเป็น 3 ชนิดคือ



3.1.1. จังหวะที่ซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
    คือ วิธีการเน้นอย่างหนึ่งที่ต้องการให้เห็นชัดเจน โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง มาจัดวางลงในกรอบพื้นที่มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยมีระยะเคียงเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ การสร้างภาพให้ดูกลมกลืน และเป็นจังหวะ ถ้าหน่วยของรูปทรงมีขนาดใหญ่ และใช้จำนวนน้อย งานออกแบบจะดูง่าย ท้าทาย แต่ถ้าใช้รูปทรงเล็กจำนวนมาก จะให้ความรู้สึกเป็นผิวสัมผัส
    เลอสม (2537: 89-91) ได้กล่าวถึงการสร้างภาพด้วยวิธีการทำซ้ำได้หลายวิธีดังนี้
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_magenta.jpgการซ้ำด้วยรูปร่าง (Shape) รูปร่างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์ประกอบ ถ้ารูปร่างซ้ำกัน ยังคงสร้างความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบ ได้ด้วย ขนาด สี และผิวสัมผัส


แสดงการซ้ำด้วยรูปร่าง


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_02.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_green.jpgการซ้ำด้วยขนาด (Size) การสร้าง รูปทรงให้มีขนาดเท่าๆกัน มักจะเป็นไปได้ที่รูปทรงนั้นมีรูปร่างซ้ำหรือรูป ร่างคล้ายคลึงกัน


แสดงการซ้ำด้วยขนาด


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_03.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_orange.jpgการซ้ำด้วยสี (Color) รูปทรงทุกรูปมีสีเหมือนกัน แต่จะแตกต่างในเรื่องของรูปร่าง และขนาด


แสดงการซ้ำด้วยสี


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_04.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_blue.jpgการซ้ำด้วยผิวสัมผัส (Texture) มีผิวสัมผัสเหมือนกัน แต่อาจจะมีรูปร่าง ขนาด และสีแตกต่างกัน


แสดงการซ้ำด้วยผิวสัมผัส


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_05.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_yellow.jpgการซ้ำด้วยทิศทาง (Direction) การสร้างภาพให้มีทิศทางซ้ำกันนั้น จะทำได้ต่อเมื่อรูปทรงแต่ละรูปแสดงให้เห็น และรู้สึกถึงทิศทางของรูปทรงชัดเจน


แสดงการซ้ำด้วยทิศทาง
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_01.jpg

Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_06.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_red.jpgการซ้ำด้วยตำแหน่ง (Position) การจัดรูปทรงให้มีตำแหน่งซ้ำนั้น จะต้องสัมพันธ์กับโครงสร้างของภาพ รูปทรงแต่ละรูปอาจจะเว้นระยะห่างเท่า ๆ กันทุกทิศทางจากกรอบย่อยของโครงสร้าง


แสดงการซ้ำด้วยตำแหน่ง


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_07.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_green.jpgการซ้ำด้วยที่ว่าง (Space) รูปทรงทุกรูปจะครอบคลุมที่ว่าง เช่นเดียวกันทั้งหมด (Positive Form) หรือพื้นภาพโดยรอบรูปทรงนั้นจะถูกครอบคลุม โดยเว้นพื้นที่ว่างเป็นรูปทรงไว้ (Negative Form)


แสดงการซ้ำด้วยที่ว่าง


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_08.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/dot_orange.jpgการซ้ำด้วยแรงดึงดูด (Gravity) การซ้ำวิธีนี้ค่อนข้างยากที่จะแสดงได้ว่า รูปทรงต่างๆ มีแรงดึงดูดในภาพเท่ากันให้ ความรู้สึก หนักหรือเบา มั่นคงหรือไม่มั่นคงเท่ากัน ยกเว้น การจัดวางองค์ประกอบอยู่ ในลักษณะซ้ำที่ไม่มีการแปรเปลี่ยน


แสดงการซ้ำด้วยแรงดึงดูด


3.1.2. จังหวะที่สลับกัน (Alternation Rhythm)

    คือ จังหวะของสองสิ่ง หรือมากกว่าซึ่งสลับกันไปมาเป็นช่วงๆ เป็นลักษณะที่ทำให้ไม่เห็นการซ้ำเด่นชัดมากเกินไป ทำให้มีลักษณะแปลกออกไปอีกแบบหนึ่ง เช่น 1,1,2,2,1,1,..........etc ดังภาพตัวอย่าง



Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_09.jpg
ภาพแสดงจังหวะที่สลับกัน 1,1,2,2,1,1



3.1.3. จังหวะที่ต่อเนื่องกัน (Continuous Rhythm)

    คือ การจัดช่วงจังหวะให้มีความต่อเนื่องกัน จังหวะแบบนี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงไปเรื่อยๆ โดยมีสี ค่าน้ำหนักของสี หรือพื้นผิวเป็นตัวแปร ดังภาพตัวอย่างดังนี้


Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_10.jpg
Description: http://www.ideazign.com/port/graphic/images/content03_03_01_11.jpg

ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันทำให้เกิดระยะใกล้ไกลขึ้น
ภาพแสดงจังหวะที่ต่อเนื่องกันโดยที่แผ่น CD ค่อยๆขยายจากเล็กมาใหญ่